โครงสร้างการจัดการ

ดร. โชติวิทย์ ชยวัฒนางกูร

  • กรรมการอิสระ
  • ประธานกรรมการตรวจสอบ
  • ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ
  • กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

นายคันธิศ อรัณยกานนท์

  • กรรมการอิสระ
  • กรรมการตรวจสอบ
  • ประธานกรรมการสรรหา
    และกำหนดค่าตอบแทน
  • กรรมการกำกับดูแลกิจการ

นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์

  • กรรมการ
  • กรรมการบริหารความเสี่ยง

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์

  • กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  • ประธานกรรมการบริหาร
  • ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง

นางสาวบุญรัตน์ มงคลรัตนกร

  • กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
  • กรรมการกำกับดูแกิจการ

นายสุภวัส พรหมวิทักษ์

  • กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • กรรมการบริหาร
  • กรรมการบริหารความเสี่ยง
  • ประธานกรรมการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการ        

ประธานกรรมการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลและสนับสนุนให้คณะกรรมการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ตามทิศทางและกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม โดยประธานกรรมการมีบทบาทเป็นผู้นำของคณะกรรมการทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมของคณะกรรมการ การประชุมผู้ถือหุ้น และการประชุมของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ซึ่งครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. การกำกับ ติดตาม และดูแลให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร
  2. การดูแลให้มั่นใจว่ากรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  3. การกำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการโดยหารือร่วมกับประธานกรรมการบริหาร และมีมาตรการที่ดูแลให้เรื่องสำคัญได้ถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม
  4. การจัดสรรเวลาได้อย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องและมากพอที่กรรมการจะอภิปรายปัญหาสำคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน การส่งเสริมให้กรรมการมีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ ให้ความเห็นได้อย่างอิสระ
  5. การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการบริหาร

  1. บริหารจัดการและควบคุมดูแลการดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไปของบริษัทเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบและข้อบังคับของบริษัท
  2. พิจารณาแผนการลงทุนในธุรกิจต่างๆ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
  3. พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ร่วมกับคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
  4. มีอำนาจในการทำนิติกรรมผูกพันบริษัท ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติของบริษัทเรื่องอำนาจอนุมัติดำเนินการ
  5. ดำเนินงานใดๆ ที่ได้รับมอบหมายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท

คุณสมบัติของเลขานุการบริษัท

  1. มีความรอบรู้และเข้าใจในธุรกิจของบริษัท
  2. เข้าใจบทบาทหน้าที่ของเลขานุการบริษัท
  3. มีความรู้และความเข้าใจด้านกฎหมาย กฎระเบียบของสำนักงาน กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตัวจากโอกาสทางธุรกิจของบริษัท รวมทั้งเก็บรักษาความลับของบริษัทได้เป็นอย่างดี
  5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ภายในและภายนอกบริษัท
  6. มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
  7. มีประสบการณ์ทำงานด้านเลขานุการบริษัทอย่างน้อย 3-5 ปี

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเลขานุการบริษัท

  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งให้คำแนะนำแก่กรรมการเกี่ยวกับข้อบังคับของบริษัท และกฎระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดการและประสานงานการประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งดูแลและประสานงานให้มีการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติคณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านกฎหมายและกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดทำและเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ของบริษัท ได้แก่ ทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุม รายงานการประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น รายงานประจำปีของบริษัท เป็นต้น
  5. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท รวมทั้งจัดส่งสำเนารายงานดังกล่าวให้ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น

ข้อมูลเลขานุการบริษัท